วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสอนตามแนวธรรมชาติ (Natural Approach-NA)

การสอนตามแนวธรรมชาติ (Natural Approach-NA)
                NA เป็น แนวการสอนที่พยายามเลียนแบบการรับรู้(acquire) ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็กๆซึ่งเป็นการรับรู้ภาษาที่เกิดตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน คำว่า natural approach และ natural method (direct method) และต่างกันตรงที่ direct method เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางน้อยกว่า (Baker & Jones, 1998) Direct Method เน้นการพูดของครู (teacher talk time-TTT) มากกว่า ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนพูด (student talk time- STTT) และเน้นการแก้ข้อผิดพลาดของผู้เรียน นอกจากนั้นแนวการสอนตามธรรมชาติยังต่างจากวิธีสอนแบบ grammar translation และวิธีสอนแบบ audio-lingual method ตรงที่การสอนตามแนวธรรมชาติเน้นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (meaning) และเน้นหน้าที่ (function) ของภาษา ซึ่งเป็นการการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเหมือนกับวิธีสอนแบบสื่อสาร ( communicative language teaching- CLT) (ค้นเมื่อ วันที่ 12 พศจิกายน 2544 จาก the World Wide Web ; http://www.mapages.com/thena/The_Natural_Approach) การเลือกเนื้อหาและเรื่องที่สอนต้องสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทักษะฟังควรฝึกก่อนทักษะพูด ก่อนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเขียนต้องคำนึงความพร้อมของผู้เรียนเพราะทักษะนี้ต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อม ผู้สอนไม่ควรเร่งเพราะจะทำให้ผู้เรียนวิตกกังวลซึ่งมีผลต่อทัศนคติและแรงจูงใจ การช่วยลดความวิตกกังวล (low anxiety) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง            
การสอนตามแนวธรรมชาตินี้ผู้สอนต้องใช้ภาษาของเจ้าของภาษาตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัญหากับผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ ตัวป้อน (input)เช่นการเทคนิคใบ้คำ ( mime) การใช้ภาษาท่าทาง (body language) เป็นต้น หรือผู้สอนอาจใช้เทป หรือ วิดีโอช่วยก็ได้             
                Krashen และ Terrell (1983) เป็นผู้คิดค้นวิธีสอนแบบนี้ขึ้นมา Stephen Krashen เป็นนักภาษาศาสตร์ประยุคแห่งมหาวิทยาลัย Southern California งานที่สำคัญที่เป็นที่แพร่หลายคือทฤษฎีการรับรู้และการพัฒนาการการเรียนภาษาที่สอง (theory of second language acquisition) ทฤษฏีนี้มีอิทธิพลต่องานวิจัยและการเรียนภาษาที่สองอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา นอกจากนั้นKrashen ยังได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง และผู้เรียนที่ใช้สองภาษา ( bilingual) ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หนังสือของเขาได้รับการตีพิมพ์มากกว่า ๆ 100 เล่มและบทความมากกว่า 300 บทความที่ได้รับการยอมรับทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา             
                Krashen เชื่อว่าจุดมุ่งหมายของการสอนภาษาที่สองต้องจัดกระบวนการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อน (input)ได้ง่ายและเร็วขึ้นครูที่ดีต้องเข้าใจกระบวนการรับรู้ (acquire) ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็กๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้เรียน ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกับการเรียนภาษาที่หนึ่งมากที่สุด ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ตามสมมุติฐานAffective Filter Hypothesis ของ           Krashen ถือว่า ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสูงมีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสในการปฎิสัมพันธ์ กับเจ้าของภาษาผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการเรียนภาษาเป้าหมายจะเรียนได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านลบ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนครูต้องจัดบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อเสริมให้ผู้เรียนมีทํศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง Krashen ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตัวเองจะทำให้เกิดความกล้า(risk taking) ที่จะสนทนากับเจ้าของภาษาทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการสนทนา (conversational competence) และยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้เทคนิค (strategy) ที่หลากหลายเพื่อช่วยให้สื่อความหมายได้ดีขึ้นทำให้การสนทนาไม่หยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ท่าทาง การถามย้อนกลับเพื่อให้เจ้าของภาษาช่วยตรวจสอบเป็นต้น            
                ส่วน Terrell เป็นครูสอนภาษาสเปนในแคลิฟอเนียร์ มีประสบการณ์ด้านการสอนแบบธรรมชาติ Terrell ได้ร่วมมือกับ Krahenคิดวิธีการสอนขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า " The Natural Approach-NA" และได้รับการตีพิมพ์ ในปี1983 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ Krashen และ Terrell ได้อธิบายวิธีการที่จะช่วยให้ ผู้เรียนภาษาที่สองมีความสามารถในการใช้ภาษาได้โดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการสอน กล่าวคือผู้เรียนภาษาที่สองไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ภาษาโดยตรงเหมือนวิธีสอนแบบ grammar translatio

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น